วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน วิชาพัฒนาหลักสูตร

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน
วันที่  28 มิถุนายน  2556
                เนื่องจากอาจารย์ได้ให้เราไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องขอบเขตของจุดมุ่งหมาย ว่าแต่ละขอบเขตมีความหมายว่าอย่างไร และมีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรอย่างไร มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
                พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการกระทำ ที่เกี่ยวกับ กระบวนการทางสมอง เช่น สติปัญญา (Intellectual) การเรียนรู้ (Learning) และ การแก้ปัญหา (Problem solving) ได้แบ่งระดับพุทธิพิสัยไว้ 6 ระดับ โดยเรียงจากระดับต่ำสุด ถึง ระดับสูงสุด ดังนี้

1.  ความรู้ - ความจำ (Knowledge)
        1.1 ความรู้ความจำในเนื้อเรื่อง (Knowledge of specifics)
·         ความรู้เกี่ยวกับศัพท์และนิยาม (Knowledge of terminology)
เกี่ยวกับความหมายของศัพท์ นิยามหรือคำจำกัดความ สัญลักษณ์ หรือภาพอักษร และ เครื่องหมายต่าง ๆ
·         ความรู้เกี่ยวกับกฎและความจริง (Knowledge of specific facts)
เกี่ยวกับ สูตร กฎ ทฤษฎี หรือสมมุติฐาน ขนาด จำนวน สถานที่ เวลา คุณสมบัติ วัตถุประสงค์ สาเหตุและผลที่เกิด ประโยชน์และโทษ และสิทธิหน้าที่
       1.2 ความรู้ในวิธีดำเนินการ (Knowledge of ways and means of dealing with specifics)
·         ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน (Knowledge of conventions)
เกี่ยวกับแบบแผน ธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันต่อ ๆ มาในสังคม
·           ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม (Knowledge of trends and sequences)
แนวโน้มที่เกิดขึ้นในลักษณะเช่นนั้นเสมอ ๆ และขั้นตอนของการดำเนินการในเรื่องหรือสิ่งนั้น ๆ ที่ต่อเนื่องกัน
·         ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท (Knowledge of classifications and categories)
เกี่ยวกับชนิด ประเภทของสิ่งของและเรื่องราวต่าง ๆ ว่าอยู่ในหมวดหมู่ประเภทใด มีสิ่งใดที่เหมือนหรือแตกต่างจากพวก โดยยึดเกณฑ์หรือวิธีการใดเป็นหลัก
·         ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ (Knowledge of criteria)
เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินหรือตรวจสอบสรรพสิ่งต่าง ๆ ว่า ดี - เลว ถูก - ผิด ควร-ไม่ควร
·      ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ (Knowledge of methodology)
วิธีการที่ใช้สำหรับการปฏิบัติงานนั้น ๆ ตามหลักวิชาการทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี


          1.3 ความรู้ความจำรวบยอด (Knowledge of universals and abstractions in the field)
·      ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและขยายหลักวิชา (Knowledge of principles and generalization)
หลักการหรือความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ซึ่งเคยปรากฏจนสามารถนำมากล่าวสรุปรวบรวมเป็นความจริงทั่วไป
·      ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง (Knowledge of theories and structures)
เกี่ยวกับคติและหลักการ จากของหลายสิ่ง หลายเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน เป็นพวกเดียวกัน เพื่อจะค้นหาทฤษฎี และโครงสร้างที่เป็นตัวร่วมของสิ่งเหล่านั้น

2. ความเข้าใจ (Comprehension)
1.             การแปลความ (Translation)
เป็นความสามารถในการแปลจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง ได้แก่ การแปลความหมายของคำและข้อความ การแปลความหมายของภาพและสัญลักษณ์ การแปลบทประพันธ์ สุภาษิตและคำพังเพย
2.             การตีความ (Interpretation)
เป็นการสรุปความจากสิ่งต่าง ๆ มากกว่า 1 สิ่ง แล้วนำผลมาสรุป เป็นผลลัพธ์ใหม่อีกอย่างหนึ่งที่มีลักษณะแปลกไปจากของเดิม
3.             การขยายความ (Extrapolation)
การขยายความเป็นการแปลความให้ไกลไปจากข้อมูลเดิม โดยมีข้อมูลหรือแนวโน้มเพียงพอ โดยการขยายความมี 4 แบบ คือ ขยายความแบบจินตนาการ แบบพยากรณ์แบบสมมุติ และแบบอนุมาน

3. การนำไปใช้ (Application)
                การนำไปใช้ เป็นการนำเอาความรู้ความจำ และ ความเข้าใจในเรื่องราวใด ๆที่ตัวเองมีอยู่ ไปแก้ปัญหาที่แปลกใหม่ ปัญหาใหม่นั้น เป็นปัญหาที่ไม่สามารถนำสูตร กฎแก้ปัญหาได้โดยทันที จะต้องใช้ยุทธวิธีหลายอย่างในการแก้ปัญหานั้น

4. การวิเคราะห์ (Analysis)
1.             การวิเคราะห์ความสำคัญ (Analysis of element)
เป็นการค้นหาคุณลักษณะเด่นของเรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้ เช่น ความเด่นของข้อความ ความสำคัญของเรื่อง ความนัยของคำพูดหรือกระทำต่าง ๆ วิเคราะห์ชนิด วิเคราะห์สิ่งสำคัญ และวิเคราะห์เลศนัย
2.             การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ( Analysis of relationships)
เป็นการค้นหาความเกี่ยวข้องระหว่างคุณลักษณะสำคัญใด ๆ ของเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ อย่างสมเหตุสมผล โดยที่สิ่งทั้งสองสิ่ง
3.             การวิเคราะห์หลักการ (Analysis of organizational principles)
เป็นการค้นหาโครงสร้าง และ ระบบของวัตถุสิ่งของเรื่องราว และการกระทำต่าง ๆรวมกันอยู่ในสภาพนั้นได้เนื่องด้วยอะไร ยึดอะไรเป็นหลักเกณฑ์ หรือมีสิ่งใดเป็นตัวเชื่อมโยง

5. การสังเคราะห์ (Synthesis)
1.             การสังเคราะห์ข้อความ (Production of unique communication)
เป็นการนำเอาความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ มาผสมกัน เพื่อให้เกิดข้อความ หรือผลิตผล หรือการกระทำใหม่ ที่จะสามารถใช้สื่อสารความคิดและอารมณ์ ระหว่างบุคคลกับผู้อื่นได้ เช่น การพูดชี้แจง การแต่งคำประพันธ์ การวาดภาพ และการแสดงต่าง ๆ
2.             การสังเคราะห์แผนงาน (Production of plan or proposed set of operation)
เป็นการกำหนดแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การดำเนินการนั้น สำเร็จลุล่วงตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่น ท่านจะวางแผนการทำงานอย่างไรจึงจะได้เป็น
3.             การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ (Derivation of set of abstract relation)
เป็นการนำเอาความสำคัญและหลักการต่าง ๆ มาผสมให้เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่มีความสัมพันธ์แปลกไปจากเดิม เช่น จงอธิบายปัญหาที่แท้จริงของการคอรัปชั่นในเมืองไทย

6.  การประเมินค่า  (Evaluation)
1.             การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายใน (Judgement in term of internal evidence)
เป็นการประเมินโดยใช้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เท่าที่ปรากฏอยู่ในเรื่องราวนั้น มาเป็นหลักในการตัดสิน เช่น จากเรื่องสามก๊ก ขงเบ้งเป็นคนอย่างไร
2.             การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก (Judgement in term of external criteria)
เป็นการตัดสินสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์อื่น ๆ ที่อยู่นอกเรื่องราวนั้น แต่มีความสัมพันธ์กับเรื่องนั้นเกณฑ์ภายนอกอาจจะเป็นเกณฑ์ทางสังคม เช่น คำว่า "สองหัวดีกว่าหัวเดียว" ท่านเห็นด้วยหรือไม่

                ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นพฤติกรรมทางการด้านการเคลื่อนไหว (Movement) เช่น การวิ่ง การกระโดด การเดิน การขับรถ การเต้นรำ การเปิดประตู เป็นต้น โดยฮาร์โรได้แบ่งระดับของจุดมุ่งหมาย ทางด้านทักษะ โดยเรียงจาก ระดับต่ำสุดถึงระดับสูงสุด 6 ระดับ ดังนี้ระดับพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย มีรายละเอียดในแต่ละระดับ ดังต่อไปนี้
                1. การเคลื่อนไหวเชิงกิริยาสะท้อนกลับ (Reflex movements) ซึ่งได้แก่
                                1.1 กิริยาสะท้อนที่สั่งจากประสาทไขสันหลังส่วนหนึ่ง (Segmental reflexes) เช่น การเคลื่อนไหวของแขนหรือขา เป็นต้น
                                1.2 กิริยาสะท้อนที่สั่งจากประสาทไขสันหลัง มากกว่าหนึ่งส่วน (Intersegmental reflexes) เช่น การเคลื่อนไหวของแขน และขาในเวลาเดินหรือวิ่ง เป็นต้น
                                1.3 กิริยาสะท้อนที่สั่งจากประสาทไขสันหลัง และ สมองร่วมกัน (Segmental Reflexes) เช่น การทรงตัวของร่างกาย ให้อยู่ในสภาพ สมดุล ในขณะเคลื่อนไหว เป็นต้น
                2. การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน (Basic - fundamental Movements) ซึ่งได้แก่
                                2.1 การเคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง (Locomotor Movements) เช่น เดิน วิ่ง กระโดด เป็นต้น
                                2.2 การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ (Non - locomotor Movements) เช่น การเคลื่อนไหวของ นิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นต้น
                                2.3 การเคลื่อนไหวเชิงบังคับ โดยกิริยาสะท้อนหลายอย่างร่วมกัน (Manipulative Movement) เช่น การเล่นเปียโน การพิมพ์ดีด เป็นต้น
                3. ความสามารถในการรับรู้ (Perceptual abilities) ซึ่งได้แก่
                                3.1 การรับรู้ความแตกต่างการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Kinesthetic discrimination) เช่น การรับรู้การกำมือ การงอเข่า การกระพริบตา เป็นต้น
                                3.2 การรับรู้ความแตกต่างด้วยการเห็น (Visual discrimination) เช่น ความสามารถในการเห็นความแตกต่าง ของวัตถุที่สังเกตได้ เป็นต้น
                                3.3 การรับรู้ความแตกต่างด้วยการได้ยิน (Auditory discrimination)เช่น ความสามารถ ในการจำแนกความแตกต่าง ของระดับเสียง หรือทิศทางของเสียงที่ได้ยิน เป็นต้น
                                3.4 การรับรู้ความแตกต่างด้วยการสัมผัส (Tactile discrimination) เช่น ความสามารถ ในการบอกลักษณะของวัตถุที่สัมผัส ว่า หยาบเรียบ แข็ง หรืออ่อน เป็นต้น
                                3.5 ความสามารถในการใช้ประสาทรับรู้ร่วมกัน (Coordinated abilities) เช่น ความสามารถในการใช้และประสาท ส่วนอื่น ๆ เพื่อร่วมมือกันในการเลือกหาวัตถุที่ต้องการ เป็นต้น
                4. สมรรถภาพทางกาย (Physical abilities) ซึ่งได้แก่
                                4.1  ความทนทาน(Endurance) เช่น ความทนทานของร่างกายในการวิ่งแข่งมาราธอน เป็นต้น
                                4.2  ความแข็งแรง (Strength) เช่น ความแข็งแรงของแขนในการยกน้ำหนัก เป็นต้น
                                4.3  ความยืดหยุ่น (Flexibility) เช่น ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อแขนขาในการเต้นรำ เป็นต้น
                                4.4  ความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว (Agility) เช่น ความฉับไวในการเปลี่ยนทิศทาง การเคลื่อนไหว เป็นต้น
                5. การเคลื่อนไหวที่ต้องอาศัยทักษะ (Skilled movements)
                                5.1 ทักษะการปรับตัวในการเคลื่อนไหว ที่ทำได้ง่าย (Simple adaptive skill) เช่น ทักษะการเลื่อยไม้ เป็นต้น
                                5.2 ทักษะการปรับตัวในการเคลื่อนไหว ที่ทำไปพร้อม ๆ กัน (Compound adaptive skill) เช่น ทักษะในการตีแบดมินตัน เทนนิส เป็นต้น
                                5.3 ทักษะการปรับตัวในการเคลื่อนไหว ที่มีลักษณะซับซ้อนมาก (Complex adaptive skill ) เช่น ทักษะการเล่นยิมนาสติก เป็นต้น
                6. การสื่อสารที่ต้องใช้ทักษะระดับสูงในการแสดงออก (Non-discursive Communication) ซึ่งได้แก่
                                6.1 การเคลื่อนไหวในเชิงแสดงออก (Expressive movement) เช่น การแสดงออก ทางสีหน้า หรืออากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ
                                6.2 การเคลื่อนไหวในเชิงตีความ (Interpretative movement) เช่น การเคลื่อนไหวใน เชิงสุนทรียภาพ หรือการเคลื่อนไหวในเชิงสร้างสรรค์

                จิตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมทางด้านจิตใจ ซึ่งจะเกี่ยวกับค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจ และคุณธรรมพฤติกรรมของผู้เรียนในด้านนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องใช้วิธีปลูกฝังโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์
ด้านจิตพิสัย จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
                1. การรับรู้ ... เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์ หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
                2. การตอบสนอง ... เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม และพอใจต่อสิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
                3. การเกิดค่านิยม ... เป็นการเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปของการยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
                4. การจัดรวบรวบ เป็นการสร้างแนวคิดและจัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้น ซึ่งจะรวบรวมค่านิยมเหล่านั้น โดยอาศัยความสัมพันธ์กับสิ่งที่ยึดถือ เพื่อใช้เป็นหลักในการพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไป แต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับค่านิยมใหม่ หรืออาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่าไปก็ได้
                5. สร้างลักษณะนิสัยตามค่านิยมที่ยึดถือ ... เป็นการนำค่านิยมที่ยึดถือนั้นมาใช้ เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัวของตน ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม
                พฤติกรรมด้านจิตพิสัยนี้ จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ จากนั้นขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆ จนกลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคน คนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้

                อาจารย์ได้สั่งงานตามกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งดิฉันได้ไปศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งได้เรื่อง ปรัชญาของการศึกษา ดังนี้
ปรัชญาการศึกษา
บทบาทของนักปรัชญาการศึกษา
                1. อธิบายถึงสภาพการณ์ของการศึกษาว่าอยู่ในสภาพอย่างไร
                2. วิจารณ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของการศึกษาว่า มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงไร
                3. เปรียบเทียบแนวความเชื่อของตนกับแนวการจัดการศึกษาว่า แตกต่างกันอย่างไร โดยอาศัยการวิเคราะห์วิจารณ์จากความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
                4. เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาการศึกษาให้ดีขึ้น หรือกำหนดแนวปฏิบัติที่เหมาะสมกับการจัดการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาที่สำคัญ
                1. ปรัชญาสารนิยม หรือสารัตถนิยม (Essentialism)
                2. ปรัชญาสาขาสัจวิทยานิยม หรือสัจนิยมวิทยา หรือนิรันตรนิยม (Perenialism)
                3. ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม หรือพิพัฒนนิยม หรือวิวัฒนาการนิยม (Progressivism)
                4. ปรัชญาสาขาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
                5. ปรัชญาสาขาอัตถิภาวนิยม หรืออัตนิยม หรือสวภาพนิยม (Existentialism)

                1.      ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (essentialism)  เน้นเนื้อหาสาระและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมของสังคมที่ได้รับการยอมรับและปฏิบัติกันในสังคมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชนในสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
                                1.1 เพื่อทะนุบำรุง  และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมไปสู่ชนรุ่นหลัง มิให้สูญหาย หรือถูกทำลายไป
                                1.2  เพื่อให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระอันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม
                                1.3  เพื่อให้การศึกษาในรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต
                                1.4 เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน
                                1.5  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางปัญญา
                                1.6  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยในตนเอง และรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น

                2.   ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (perennialism)
                จุดมุ่งหมายของปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยมอยู่ที่ การสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง ปลูกฝังความเชื่อและค่านิยมที่ดีแก่ผู้เรียน มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีเหตุผลยิ่งขึ้น รู้จักและเข้าใจตนเอง พร้อมทั้งเห็นว่าตัวเองนั้นมีพลังธรรมชาติอยู่ภายในแล้ว การศึกษาก็คือการส่งเสริมให้พลังธรรมชาตินั้นพัฒนาเต็มที่ พลังธรรมชาติในที่นี้ก็คือ สติปัญญาของมนุษย์ ถ้าสติปัญญาได้รับการขัดเกลาและพัฒนาอย่างดีพอ มนุษย์ก็จะทำอะไรได้อย่างมีเหตุผลเสมอ จุดหมายของการศึกษาของทฤษฎีการศึกษานิรันตรนิยมกล่าวไว้ดังนี้ คือ
                                2.1  มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักและทำความเข้าใจกับตนเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องเหตุผลและสติปัญญา
                                2.2  มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาสติปัญญาและเหตุผลในตัวมนุษย์ให้ดีขึ้น สูงขึ้นเพื่อเป็นคนที่สมบูรณ์

                3.  ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(progressivism) แนวคิดหลักการของการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยมนี้ ก็คือการศึกษาจะต้องพัฒนาเด็กทุก ๆ ด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัPพอ ๆ กับเนื้อหา เรื่องของปัจจุบันมีความสำคัญกว่าอดีตหรืออนาคต จุดมุ่งหมายของการศึกษา การศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนาการนิยมนี้ เกิดขึ้นเพื่อต้านแนวคิดและวิธีการเก่าของการศึกษาที่เน้นแต่เพียงคุณสมบัติด้านใดด้านหนึ่ง เพราะคิดว่าด้านนั้นสำคัญกว่าดังที่สารัตถนิยมเน้นความสามารถทางการจำและเข้าใจ และมองว่าการศึกษาจะต้องให้การศึกษาทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ควบคู่กันไป ความสนใจ ความถนัด และลักษณะพิเศษของผู้เรียนควรได้รับความสนใจและได้รับการส่งเสริมให้มากที่สุดส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในและนอกห้องเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและสังคม เพื่อผู้เรียนจะได้ปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหาได้

               
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(reconsteuctionism)
 ปรัชญาการศึกษาในแนวนี้เห็นว่า ปัจจุบัน(รวมทั้งอนาคต) สังคมมีปัญหามากทั้งในด้านของเศรษฐกิจ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก สังคมจึงต้องการการแก้ปัญหาและหาทางที่จะสร้างค่านิยมและแบบแผนของสังคมขึ้นใหม่ การที่จะแก้ปัญหาและสร้างค่านิยมขึ้นใหม่นี้ การศึกษาจะต้องมีบทบาทอย่างสำคัญซึ่งความเชื่อและหลักการสำคัญของทฤษฎีการศึกษาปฏิรูปนิยมในด้านจุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาในแนวทางนี้คือการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อปรับปรุง พัฒนาและสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีและเหมาะสมกว่าขึ้นมาให้ได้ ดังจะกล่าวเป็นรายละเอียดได้คือ
                                4.1  การศึกษาจะต้องช่วยแก้ปัญหาของสังคมที่เป็นอยู่
                                4.2  การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสังคมโดยตรง
                                4.3  การศึกษาจะต้องมุ่งสร้างระเบียบใหม่ของสังคมจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่
                                4.4  ระเบียบใหม่ที่สร้างขึ้นรวมทั้งวิธีสร้างต้องอยู่บนพื้นฐานของประชาธิไตย
                                4.5  การศึกษาจะต้องให้เด็กเห็นความสำคัญของสังคมคู่ไปกับตนเอง

                5.   รัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism)   เชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพในทางที่จะเป็นตัวของตัวเองตลอดเวลา  นักปรัชญากลุ่มนี้สนใจเกี่ยวกับโลกแห่งการดำรงชีวิตอยู่ได้(A World of Existing) เชื่อว่า คนคือความไม่แน่นอน ไม่มีแก่นสาร ความจริงหรือความรู้ควรจะเป็นเรื่องที่ช่วยให้ตนเองดำรงชีวิตอยู่ได้ จริยศาสตร์ควรจะเป็นเรื่องของเสรีภาพและความสมัครใจสุนทรียศาสตร์ควรจะเป็นเรื่องของการปฏิวัติหรือหนีสังคม และไม่จำเป็นต้องตรงกับความพอใจของประชาชนส่วนใหญ่ กลุ่มนี้เชื่อว่ามนุษย์มีความเป็นอิสระ มีเสรีภาพในการเลือก ในการกระทำ มนุษย์ตัดสินใจด้วยตนเอง เลือกด้วยตนเอง และรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองลัทธินี้มีความสัมพันธ์กับปรัชญาด้านต่าง ๆ คือ
เชื่อว่า ความจริงคือการดำรงอยู่ของชีวิต ไม่เห็นด้วยกับความสมบูรณ์แท้จริงที่สุดของการให้เหตุผลหรือตรรกวิทยาบริสุทธิ์ ลัทธินี้เน้นถึงชีวิตและประสบการณ์ของเอกัตบุคคล เชื่อว่ามนุษย์จะดีก็อยู่ที่การเลือกที่จะทำตนให้เป็นเช่นนั้น นักปรัชญาในกลุ่มนี้บางคนก็เชื่อว่าไม่มีพระเจ้า แต่บางคนเชื่อว่า มีพระเจ้าเป็นผู้ช่วยมนุษย์ให้มีศีลธรรมจรรยาดี
เชื่อว่าความจริงคือ ความรู้จะช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ และถือว่าความรู้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแก่แต่ละบุคคล ความรู้ไม่ใช่ผลบั้นปลายอันต้องประสงค์ และก็ไม่ใช่มรรคอันจำจะต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวไปเผชิญกับชีวิตจริง หากความรู้เป็นมรรควิธีจะให้แต่ละคนเจริญเติบโต และเลือกทำในสิ่งที่ตนประสงค์ยิ่งขึ้นทุกที

                 6.   ปรัชญาการศึกษาพุทธปรัชญา (Buddhism) เป็นปรัชญาที่เชื่อว่า การศึกษาคือการพัฒนาบุคคลให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตลอดจนรู้จักแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                จากการที่ดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา  ซึ่งมีทั้งหมด 6 ปรัชญา  คือ  ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (essentialism)  ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (perennialism)  ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(progressivism)  ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(reconsteuctionism)  ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism)ปรัชญาการศึกษาพุทธปรัชญา (Buddhism)  ซึ่งทำให้ดิฉันได้รู้เกี่ยวกับปรัชญาต่างๆมากขึ้น

                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น