วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21


สมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
                        องค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นเพื่อในการเรียนรู้ของนักเรียนทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ มาตรฐานศตวรรษที่ 21        การประเมินผลหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาอาชีพและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับระบบสนับสนุนการผลิตที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนในปัจจุบัน มีดังนี้
                   1.   ความสามารถในการสื่อสาร คือความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อัน จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม    รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสาร ด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับ ICT Literacy
                  2.     ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคม ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับ Learning Thinking Skills
                3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ Life skill
                 4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น สอดคล้องกับ Life skill
                 5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม สอดคล้องกับ ICT Literacy
                มาตรฐานศตวรรษที่ 21
                -  มุ่งเน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาและความเชี่ยวชาญ
                -  สร้างความเข้าใจระหว่างวิชาหลัก เช่นเดียวกับรูปแบบสหวิทยาการศตวรรษที่ 21
                -  เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน
                -  การของมีส่วนร่วมของนักเรียนกับ ข้อมูลและ เครื่องมือในโลกแห่งความเป็นจริงและพวกเขาจะพบผู้เชียวชาญในวิทยาลัยหรือในที่ทำงานและ ชีวิตนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อทำงานอย่างแข็งขัน การแก้ปัญหาที่มีความหมาย
                -  การมีมาตรการหลายๆรูปแบบของการเรียนรู้
หลักสูตร และการสอนในศตวรรษที่ 21
                สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่  21
                 มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้
                 ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน  และทักษะการคิดขั้นสูง
                สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
การประเมินด้านทักษะในศตวรรษที่ 21
                -   รองรับความสมดุลของการประเมินรวมทั้งมีคุณภาพสูง การทดสอบมาตรฐานที่มีคุณภาพสูงพร้อมกับการประเมินผลในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ
                -   เน้นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่ถูกฝังลงในการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
                -  การประเมินการใช้เทคโนโลยีให้มีความสมดุล ความชำนาญนักเรียนซึ่งเป็นการวัดทักษะในศตวรรษที่ 21
                -  ช่วยให้การพัฒนาคุณภาพนักเรียนนักศึกษาที่แสดงให้เห็นการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อการศึกษาและการทำงานในอนาคต
                -  ช่วยให้มาตรการการประเมินประสิทธิภาพระบบการศึกษาในระดับที่สูงประเมินถึงสมรรถนะของนักเรียนด้านทักษะในศตวรรษที่ 21
แหล่งข้อมูล:   http://lripsm.wix.com/21st#!about_us/cjg9  (สืบค้นวันที่ 25/07/2556)

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน สัปดาห์ที่ 7 วิชาพัฒนาหลักสูตร

บันทึกการเรียนรู้

บันทึกการเรียนรู้ในชั้นเรียน :
วันที่   25 กรกฎาคม พ.. 2556
            ในคาบเรียนของวันนี้อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ ได้ดูความคืบหน้าในการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการทำพัฒนาหลักสูตรของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม  และได้ถามถึงเนื้อหาที่เราได้ไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของสมรรถนะของผู้เรียน และพัฒนาการหลักสูตรของการศึกษาไทย ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานของการเรียนรู้วิชาพัฒนาหลักสูตร และอาจารย์ได้มีการตรวจงานที่เราได้ไปลงพื้นที่จริงที่แต่ละกลุ่มได้ลงไปสำรวจโดยแยกเป็นด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองการปกครอง และด้านวัฒนธรรมประเพณี ของเรื่องที่เรารับผิดชอบ  มีข้อผิดพลาดอย่างไร อาจารย์จึงได้แนะแนวทางการแก้ไขให้ถูกต้องและมีการดำเนินการต่อไป

บันทึกการเรียนรู้นอกชั้นเรียน : วันที่   25 กรกฎาคม พ.. 2556
สมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
             1. ความสามารถในการสื่อสาร คือความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อัน จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสาร ด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับ ICT Literacy
              2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคม ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับ Learning Thinking Skills
               3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ Life skill
                4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น สอดคล้องกับ Life skill
               5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม สอดคล้องกับ ICT Literacy
หลักสูตร และการสอนในศตวรรษที่ 21
                สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่  21
                มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้
                ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน  และทักษะการคิดขั้นสูง
                สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
การประเมินด้านทักษะในศตวรรษที่ 21
                -  รองรับความสมดุลของการประเมินรวมทั้งมีคุณภาพสูง การทดสอบมาตรฐานที่มีคุณภาพสูงพร้อมกับการประเมินผลในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ
                -  เน้นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่ถูกฝังลงในการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
                -  การประเมินการใช้เทคโนโลยีให้มีความสมดุล ความชำนาญนักเรียนซึ่งเป็นการวัดทักษะในศตวรรษที่ 21
                -  ช่วยให้การพัฒนาคุณภาพนักเรียนนักศึกษาที่แสดงให้เห็นการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อการศึกษาและการทำงานในอนาคต
                -  ช่วยให้มาตรการการประเมินประสิทธิภาพระบบการศึกษาในระดับที่สูงประเมินถึงสมรรถนะของนักเรียนด้านทักษะในศตวรรษที่ 21
แหล่งข้อมูล:   https://www.google.co.th/webhp?source=search_app    (สืบค้นวันที่ 25/07/2556)


พัฒนาการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย


              ความเป็นมาของการศึกษาไทยช่วยให้เห็นพัฒนาการด้านการศึกษาเป็นสำคัญ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ       การจัดการศึกษาจะต้องสนองต่อความต้องการของสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมือง ในที่นี้ได้เสนอพัฒนาการของหลักสูตรการศึกษาไทยตั้งแต่พุทธศักราช 2503, 2521, 2533, 2544 และ 2551 ดังนี้                        หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาตามควรแก่อัตภาพ ได้รับการศึกษาอยู่ในโรงเรียนจนอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เป็นอย่างน้อย ในการจัดการศึกษานั้นเพื่อสนองความต้องการของสังคมและบุคคลโดยให้สอดคล้องกับแผนเศรษฐกิจและแผนการปกครองประเทศ  เนื้อหาสาระที่จัดในระดับประถมศึกษาตอนต้น มี           6  หมวดใหญ่ คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย ศิลปศึกษา พลานามัย สำหรับระดับประถมศึกษาตอนปลายเพิ่มหมวดวิชาภาษาอังกฤษและหัตถศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งสายสามัญและสายอาชีพต้องเรียนเลขคณิตและพืชคณิตตลอดทั้ง 3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น 3 แผนก คือ แผนกทั่วไป วิทยาศาสตร์ และศิลปะ หลังจากนั้นการศึกษาไทยได้เปลี่ยนมาใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 เนื่องจากความไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การศึกษาไม่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ เป็นการศึกษาแพ้คัดออก คนมีโอกาสเรียนในระดับสูงน้อยมากมาก                                                                                             
         หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม ให้มีความรู้ความสามารถ         มีความสุข รวมทั้งเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ  เนื้อหาสาระที่เรียนมี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มทักษะ (ไทย-คณิต) กลุ่มประสบการณ์ชีวิต กลุ่มลักษณะนิสัย และกลุ่มการงานหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทำประโยชน์เพื่อสังคมภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  เนื้อหาสาระมี5 กลุ่ม กลุ่มทักษะในหลักสูตร 2521 เปลี่ยนเป็นกลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือ        การเรียนรู้ และเพิ่มกลุ่มประสบการณ์พิเศษ ส่วนหลักสูตรมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษาต่อให้สามารถทำประโยชน์เพื่อสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  เนื้อหาสาระที่เรียนประกอบด้วยวิชาบังคับแกน(ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พลานามัย และศิลปศึกษา) วิชาบังคับเลือก วิชาเลือกเสรี และกิจกรรม          จากการใช้หลักสูตรดังกล่าวไม่สามารถส่งเสริมให้สังคมไทยก้าวไปสู่ส่งคมความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์ได้ทันการณ์ ไม่สะท้อนความต้องการของท้องถิ่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติจึงเปลี่ยนไปใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544                                                                                                       
       หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีจุดมุ่งหมายมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี            มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ แบ่งระดับการศึกษาเป็น 4 ช่วงชั้น สาระ  การเรียนรู้มี 8 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จากการใช้หลักสูตรพบว่ามีความสับสนใน          ผู้ปฏิบัติการในสถานศึกษา หลักสูตรแน่นเกินไป ปัญหาในการเทียบโอน และปัญหาคุณภาพผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จึงเปลี่ยนมาใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยเพิ่มสมรรถสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ส่วนเนื้อหาสาระยังคงใช้ 8 กลุ่มสาระเหมือนหลักสูตร 2544 แต่หลักสูตรกำหนดตัวชี้วัดมาให้ ส่วนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนั้นเพิ่มกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมด้วย สรุปได้ว่าหลักสูตรการศึกษาเปลี่ยนไปเพื่อแก้ไขปัญหาการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง


บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน สัปดาห์ที่ 6 วิชาพัฒนาหลักสูตร

บันทึกการเรียนรู้นอกชั้นเรียน

สมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่21
            1. ความสามารถในการสื่อสาร คือความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อัน จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสาร ด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับ ICT Literacy
            2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคม ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับ Learning Thinking Skills
            3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ Life skill
            4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น สอดคล้องกับ Life skill
            5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม สอดคล้องกับICT Literacy
หลักสูตร และการสอนในศตวรรษที่ 21
            สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่ 21

            มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้
            ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐานและทักษะการคิดขั้นสูง
            สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน

บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน สัปดาห์ที่ 6 วิชาพัฒนาหลักสูตร

บันทึกการเรียนรู้ในชั้นเรียน
                       
            ในคาบเรียนของวันนี้อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ ได้อธิบายเกี่ยวกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑โดยมีรายละเอียดที่อาจารย์ได้อธิบายดังต่อไปนี้
วิสัยทัศน์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
หลักการ
            หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหลักการที่สำคัญ  ดังนี้
           
1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
           
2.  เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
            3.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
            4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด การเรียนรู้
            5.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
            6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
            สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
            1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
           
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
            3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเองสังคมและสิ่งแวดล้อม
           
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
            5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                        1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
                        2. ซื่อสัตย์สุจริต
                        3. มีวินัย
                        4. ใฝ่เรียนรู้
                        5. อยู่อย่างพอเพียง
                        6. มุ่งมั่นในการทำงาน
                        7. รักความเป็นไทย
                        8. มีจิตสาธารณะ

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน สัปดาห์ที่ 5 วิชาพัฒนาหลักสูตร

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน
                วันที่ 11 กรกฎาคม 2556 การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ทำการศึกษาเรื่องหลักสูตรแกนกลางซึ่งมีเนื้อหาเพื่อให้เราได้มีความรู้ในเรื่องของการพัฒนาหลักสูตรได้ดียิ่งขึ้นโดยเราจะต้องเชื่อมโยงให้มีความสัมพันธ์กัน  โดยมีเนื้อหาดังนี้
วิสัยทัศน์
                หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

หลักการ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ  ดังนี้
                   ๑.    เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้                   เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน              ของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
                                ๒.   เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
                                ๓.   เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
                ๔. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้
                ๕.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                ๖.  เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 

จุดหมาย
             หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน   มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา มีความสุข  
มีศักยภาพในการศึกษาต่อ  และประกอบอาชีพ   จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน  เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ดังนี้
                ๑. มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง   มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
                ๒. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี  และมีทักษะชีวิต
                ๓.  มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
                ๔.  มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก  ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ           การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                ๕.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย   การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข   
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ดังนี้

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้
                ๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
                ๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
                ๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง    ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น        ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
                ๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
                ๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร
การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   ดังนี้
                                ๑.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์
                                ๒.  ซื่อสัตย์สุจริต
                                ๓.  มีวินัย
                                ๔. ใฝ่เรียนรู้
                                ๕. อยู่อย่างพอเพียง
                                ๖.  มุ่งมั่นในการทำงาน
                                ๗.  รักความเป็นไทย
                                ๘.  มีจิตสาธารณะ
นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้องตามบริบทและจุดเน้นของตนเอง   
มาตรฐานการเรียนรู้
                การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้
                ๑.            ภาษาไทย
                ๒.           คณิตศาสตร์
                ๓.           วิทยาศาสตร์
                ๔.           สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
                ๕.           สุขศึกษาและพลศึกษา
                ๖.            ศิลปะ
                ๗.           การงานอาชีพและเทคโนโลยี
                ๘.           ภาษาต่างประเทศ
ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้  ปฏิบัติได้  มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม            ที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญ                ในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งรวมถึง
การทดสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษา และการทดสอบระดับชาติ ระบบการตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสะท้อนภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด
                การเรียนรู้นั้นไม่เพียงแต่มีความรู้ท่านี้แต่ควรมีคุณธรรมด้วย เพื่อไม่ใช่เป็นเพียงคนเก่งแต่ต้องเป็นคนเก่งที่มีพร้อมความดี สามารถเป็นไม่ใช่เก่งอย่างเดียว แต่สามารถนำความรู้ที่มีนั้นไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน สัปดาห์ที่ 5 วิชาพัฒนาหลักสูตร

บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน
                วันที่ 11 กรกฎาคม 2556 รายวิชาการพัฒนาหลักสูตรโดยอาจารย์วัยวุฒ อินวงศ์ เป็นครูผู้สอน  ในคาบเรียนนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเรียนรู้ในเรื่องของการเลือกและจัดสาระการเรียนรู้ ในหัวข้อที่อาจารย์ได้กำหนดให้และช่วยกันอภิปรายกลุ่มและมีการแสดงความคิดเห็นโดยมุ่งเน้นการกำหนดเนื้อหาที่เราจะพัฒนาหลักให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพมากที่สุด อาจารย์ได้ยกตัวอย่างในหลายๆ กรณีในเราได้เห็นภาพและนำไปสู่แนวทางในการคิดที่จะพัฒนาหลักสูตร และอาจารย์มอบหมายงานเกี่ยวกับหลักสูตร
1.             การเลือกและจัดสาระการเรียนรู้ ในการเรียนในคาบนั้นอาจารย์ได้มีการให้สมาชิก
แต่ละกลุ่มมีการคิดและเสนอแนะในหัวข้อของจุดประสงค์ของหลักสูตร
                                1.1 เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในโรคติดต่อ ในการสอนนั้นหากต้องการที่จะสอนเรื่องเกี่ยวกับโรคติดต่อผู้สอนต้องการที่จะให้ผู้เรียนมีความรู้ในเรื่องอะไรบ้าง เนื้อที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนนั้นต้องครอบคลุมหัวข้อ ซึ่งในหัวข้อนี้ต้องมีการจัดหลักสูตรให้มีหัวข้อดังนี้
                                                - โรค
                                                -  ลักษณะของโรค
                                                -  อาการของโรค
                                                -  ระยะเวลาของโรค
                                                -  สาเหตุของโรค
                                                -  วิธีการรักษาโรค
                                                -  วิธีการป้องกัน
                                                -  วิธีการแพร่เชื้อ
                                                -  ความรุนแรงของโรค
                ซึ่งการจัดการเรียนการสอนนั้นควรจะต้องมีการเรียงลำดับความสำคัญของแต่ละหัวข้อว่าส่วนใดที่ควรจะมีความสำคัญมากที่สุด มีการจัดเรียงหัวข้อตามความเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีความง่ายในการจดจำ
                                1.2 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในเรื่องพืชเศรษฐกิจ อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มบอกชื่อพืชเศรษฐกิจมาหนึ่งชนิดและบอกสาเหตุที่เลือก สำหรับกลุ่มของดิฉันได้เลือกพืชเศรษฐกิจ คือ ไม้สักทอง เพราะไม้สักทองเป็นไม้ที่มีคุณภาพ มีราคาสูงและไม้สักทองสามารถนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ อาคารบ้านเรือนได้ ซึ่งมีความสำคัญกับมนุษย์เพราะเป็นปัจจัยสี่นั่นคือที่อยู่อาศัยสำหรับหัวข้อนี้ในการเรียนการสอนจึงควรมีหัวข้อดังนี้
                                                -  พืชเศรษฐกิจคืออะไร
                                                -  ประเภทของพืชเศรษฐกิจ
                                                -  ความเหมาะสมในการปลูก (พื้นที่ ระยะเวลา)
                                                -  โรคที่เกิดจากพืช
                                                -  ประโยชน์ของพืช
ในการจัดการเรียนการสอนหัวข้อนี้ความเหมาะสมของเนื้อหา  ที่หัวข้อแต่ละหัวข้อจะมีความสำคัญมากน้อยต้องมีการเรียงลำดับความสำคัญจึงควรมีการจัดเรียงหัวข้อให้มีความเหมาะสม
                                1.3  เนื้อหาสาระที่ตอบสนองจุดมุ่งหมายของฟัน การเรียนรู้เรื่องฟันการเรียนการสอนจะต้องมีการจัดเนื้อหาให้มีความเหมาะสมให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย หัวข้อที่ควรรรู้มีดังนี้
                                                - ฟันคืออะไร
                                                - ความสำคัญของฟัน
                                                - โครงสร้างของฟัน
                                                - ประเภท (ฟันแท้ ฟันน้ำนม ช่วงอายุ จำนวน)
                                                - ชนิดของฟัน (ฟันกราม ฟันตัด ฟันฉีก)
                                                - หน้าที่
                                                - วิธีการดูแลรักษา
                                                - การเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด(แปรงสีฟัน ยาสีฟัน)
                                                - โรคของฟันและเหงือก
                                                - สาเหตุของโรค
                                                - การรักษาโรค
                ในการเรียนรู้เรื่องฟันนั้นการเรียนรู้สำหรับสิ่งที่ควรรู้นั้นมีหลายอย่างแต่การเรียนการสอนนั้นควรจัดการเรียนการสอนโดยเรียงลำดับหัวข้อที่มีความสำคัญมากสุดและต้องมีการครอบคลุมเนื้อหา สิ่งแรกที่ควรรู้นั้นต้องรู้ว่าฟันคืออะไร เมื่อรู้ว่าฟันคืออะไรแล้วจากนั้นต้องรู้ว่าความสำคัญของฟันว่าฟันมีความสำคัญอย่างไร? แล้วใช้ฟันเพื่ออะไร? สิ่งที่ควรรู้อันดับต่อไปคือโครงสร้างของฟันว่าฟันนั้นมีส่วนประกอบใดบ้าง ต่อไปเมื่อทราบแล้วว่าโครงสร้างของฟันเรียกว่าอะไรแล้วประเภทของฟันเป็นสิ่งที่ต้องทราบประเภทของฟันกล่าวได้อีกว่ามีฟันแท้ ฟันน้ำนม ฟันแต่ละประเภทนั้นมีช่วงอายุของฟันเท่าไร จำนวนของฟันมีกี่ซี่ หน้าที่ของฟันแต่ละชนิดที่ต้องมีการเรียนรู้ว่าหน้าที่ของฟันมีหน้าที่แตกต่างกัน วิธีการดูแลฟันให้มีสุขภาพที่แข็งแรงมีวิธีการอย่างไร รวมทั้งการเลือกผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดให้มีความเหมาะสมกับช่วงอายุ โรคที่เกิดของฟันและเหงือกและเมื่อเกิดโรคแล้วจะมีวิธีการรักษาอย่างไร
                                1.4 นักเรียนมีทักษะการลบจำนวนเต็ม การเรียนรู้หัวข้อนี้ควรมีความรู้ดังนี้
                                                                -การลบคืออะไร
                                                                - สัญลักษณ์ของเครื่องหมายลบ
                                                                - องค์ประกอบของการลบ (ตัวตั้ง ตัวลบ)
                                                                - วิธีการลบ (การลบจำนวน 1 ถึง 100 )
                                                                - โจทย์ปัญหา
                                                                - การเขียนประโยคสัญลักษณ์
                ในการจัดการเรียนการสอนหัวข้อนี้จะเห็นว่าการเรียงลำดับจะเป็นการเรียงจากง่ายไปสู่ยาก เพื่อให้ง่ายในการเรียนการสอนในการจัดเนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับจุดมุ่งของแต่ละหัวข้อนั้นจะเห็นว่า แม้หัวข้อจะมีความแตกต่างกันแต่หัวข้อทุกหัวข้อนั้นจะมีการจัดเรียงเนื้อที่มีความสำคัญมากเรียงจนที่มีความสำคัญน้อยเพื่อทำให้การเรียนการสอนง่ายในการเรียน และแต่ละหัวข้อมีความครอบคลุมกับจุดมุ่งหมายที่ สำหรับการเลือกและจัดสาระการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายผู้เรียนว่าต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไรบ้าง? และจะจัดลำดับความรู้เหล่านั้นอย่างไร? จึงจะเกิดการเรียนรู้สูงสุด?

                2.พระราชบัญญัติการศึกษา อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปศึกษาด้านการเรียนการสอน ม.22-30 อาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติมและให้ขยายความเพิ่มเติมให้แต่ละมาตรา ให้ทำลงในการดาษรายงาน กำหนดส่งวันที่ 16.. 56